วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สื่อการสอนคืออะไร

สื่อการสอนคืออะไร โดย ชัยวัฒน์ เอกลาภ(สื่อ1/56) 53191470114 สื่อการสอนคืออะไร? สื่อการสอน (Instruction Media) หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการใด ๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะ ในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะและประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติพิเศษและมีคุณค่า ในตัวของมันเองในการเก็บและแสดงความหมายที่เหมาะสมกับเนื้อหาและเทคนิควิธีการใช้อย่างมีระบบ คุณสมบัติของสื่อการสอน สื่อการสอนมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ คือ 1. สามารถจัดยึดประสบการณ์กิจกรรมและการกระทำต่าง ๆ ไว้ได้อย่างคงทนถาวร ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ในอดีต หรือปัจจุบัน ทั้งในลักษณะของรูปภาพ เสียง และสัญลักษณ์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ 2. สามารถจัดแจงจัดการและปรุงแต่งประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เพราะสื่อการสอนบางชนิด สามารถใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเอาชนะข้อจำกัดในด้านขนาด ระยะทาง เวลา และความเป็นนามธรรม ของประสบการณ์ตามธรรมชาติได้ 3. สามารถแจกจ่ายและขยายของข่าวสารออกเป็นหลาย ๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมาก และสามารถใช้ซ้ำ ๆ ได้ หลาย ๆ ครั้ง ทำให้สามารถแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียน ได้เป็นอย่างดี คุณค่าของสื่อการสอน 1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน 2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจ 3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง 4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน 5. แสดงความหมายและสัญลักษณ์ต่าง ๆ 6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ 7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย 8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น 9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น 9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้ 9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้ 9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้ 9.4 ขยายสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นได้ 9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้ 9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้ คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ 1. คุณค่าด้านวิชาการ 1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง 1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน 1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและ เป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น 1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา 1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน 1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น 2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ 2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น 2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว 2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง 3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา 3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น 3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ 3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน 3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง ประเภทของสื่อการสอน การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น - แผนภูมิ (Charts) - แผนภาพ (Diagrams) - ภาพถ่าย (Poster) - โปสเตอร์ (Drawing) - ภาพเขียน (Drawing) - ภาพโปร่งใส (Transparencies) - ฟิล์มสตริป (Filmstrip) - แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes) - เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ 2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่ - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors) - เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors) - เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors) - เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers) 3. วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่ - บทบาทสมมุติ (Role Playing) - สถานการณ์จำลอง (Simulation) - การสาธิต (Demonstration) - การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) - การจัดนิทรรศการ (Exhibition) - กระบะทราย (Sand Trays) การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form) ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้ 1. สิ่งพิมพ์ (Printed Materials) - หนังสือแบบเรียน (Text Books) - หนังสืออุเทศก์ (Reference Books) - หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books) - นิตยสารหรือวารสาร (Serials) 2. วัสดุกราฟิก (Graphic Materials) - แผนภูมิ (Chats) - แผนสถิติ (Graph) - แผนภาพ (Diagrams) - โปสเตอร์ (Poster) - การ์ตูน (Cartoons) 3. วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment) - เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector) - เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector) - เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector) - ฟิล์มสไลด์ (Slides) - ฟิล์มภาพยนตร์ (Films) - แผ่นโปร่งใส (Transparancies) 4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) - เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording) - เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) - เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver) - เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver) การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์ เอดการ์ เดล (Edgar Dale. 1969 : 107) เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ ์ที่ง่ายไปยาก 10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience) ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์ ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรง หรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้ เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหา ที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่า การจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอน 1. สื่อที่ไม่ต้องใช้เครื่องประกอบ 1.1 หนังสือพิมพ์ สมุดคู่มือ เอกสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ข้อดี 1. วิธีเรียนที่ดีที่สุดสำหรับบางคน ได้แก่ การอ่าน 2. สามารถอ่านได้ตามสมรรถภาพของแต่ละบุคคล 3. เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงหรือทบทวน 4. เหมาะสำหรับการผลิตเพื่อแจกเป็นจำนวนมาก ข้อจำกัด 1. ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง 2. บางครั้งข้อมูลล้าสมัยง่าย 3. สิ่งพิมพ์ที่จำเป็นต้องอาศัยการผลิตต้นแบบหรือการผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งหาได้ยาก 1.2 ตัวอย่างของจริง ข้อดี 1. แสดงสภาพตามความเป็นจริง 2. อยู่ในลักษณะสามมิติ 3. สัมผัสได้ด้วยสัมผัสทั้ง 4 ข้อจำกัด 1. การจัดหาอาจลำบาก 2. บางครั้งขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้ 3. บางครั้งราคาสูงเกินไป 4. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย 5. บางครั้งเสียหายง่าย 6. เก็บรักษาลำบาก 1.3 หุ่นจำลอง / เท่า / ขยาย / ของจริง ข้อดี 1. อยู่ในลักษณะสามมิติ 2. สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียด 3. เหมาะสำหรับการแสดงที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น ส่วนกลางหู) 4. สามารถใช้แสดงหน้าที่ 5. ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่าง ๆ 6. หุ่นบางอย่างสบายสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุในท้องถิ่นที่หาง่าย ข้อจำกัด 1. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต 2. ส่วนมากราคาแพง 3. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย 4. ชำรุดเสียหายง่าย 5. ไม่เหมือนของจริงทุกประการบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิด 1.4 กราฟิก / แผนภูมิ / แผนภาพ / แผนผัง / ตาราง ข้อดี 1. ช่วยในการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา 2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา 3. ภาพถ่ายมีลักษณะใกล้ความเป็นจริง ซึ่งดีกว่าภาพเขียน ข้อจำกัด 1. เหมาะสำหรับกลุ่มเล็ก ๆ 2. เพื่อให้งานกราฟิกได้ผลจำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่ค่อนข้างมีความชำนาญในการผลิต 3. การใช้ภาพบางประเภท เช่น ภาพตัดส่วน (Sectional drawings) หรือการ์ตูน อาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความเข้าใจดีขึ้นแต่กลับทำให้งง เพราะไม่สามารถสัมผัสของจริงได้ 1.5 กระดานชอล์ค ข้อดี 1. ต้นทุนราคาต่ำ 2. สามารถใช้เขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด 3. ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวเนื้อหาสามารถนำไปใช้ได้อีก ข้อจำกัด 1. ผู้เขียนต้องหันหลังให้กลุ่มเป้าหมาย 2. กลุ่มเป้าหมายจำนวนเพียง 50 คน 3. ภาพหัวข้อหรือประเด็นคำบรรยายต้องถูกลบ ไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก 4. ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควรทั้งในการเขียนตัวหนังสือ 1.6 แผ่นป้ายสำลี / แผ่นป้ายแม่เหล็ก ข้อดี 1. สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก 2. วัสดุในการผลิตหาได้ง่าย 3. เหมาะสำหรับแสดงความเกี่ยวพันของลำดับเนื้อหา เป็นขั้นตอน 4. ช่วยดึงดูดความสนใจ 5. สามารถให้กลุ่มเป้าหมายร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจและทดสอบความเข้าใจ ข้อจำกัด - เหมาะสำหรับกลุ่มย่อย 2. สิ่งที่ต้องใช้เครื่องฉายประกอบ (Projectable Media) 2.1 ชนิดที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือภาพนิ่ง (Still Picture) 2.1.1 เครื่องฉายทึบแสง (Opaque Projector) ข้อดี 1. สามารถขยายภาพถ่ายหรือภาพเขียนให้มีขนาดใหญ่ ซึ่งแม้กลุ่มจะใหญ่ก็เห็นชัดเจนทั่วถึงกัน 2. ช่วยลดภาวะการผลิตสไลด์และแผ่นภาพโปร่งแสง (Overhead Transparencies) 3. สามารถขยายภาพบนแผ่นกระดาษ เพื่อจะได้วาดภาพขยายได้ถูกต้อง 4. ช่วยในการขยายวัตถุที่มีขนาดเล็กให้กลุ่มใหญ่ ๆ เห็นได้ทั่วถึง ข้อจำกัด 1. เมื่อจะใช้เครื่องจะต้องมีห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยาย 2. เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ขนย้ายลำบาก 3. ต้องใช้ไฟฟ้า 2.1.2 ไมโครฟิล์ม ข้อดี 1. สะดวกต่อการเก็บรักษาและสามารถจัดประเภทได้ง่าย หากมีไมโครฟิล์มจำนวนมาก ๆ 2. เหมาะสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ เพราะมีขนาดเล็ก 3. ต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำแต่ต้องมีเครื่องฉายที่ดี 4. ขนาดเล็ก และน้ำหนักเบาหยิบใช้ง่าย ข้อจำกัด 1. ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 2. เครื่องขยายที่ใช้คนดูคนเดียวมีราคาถูก แต่เครื่องฉายสำหรับกลุ่มใหญ่มีราคาแพง 3. เครื่องขยายต้องใช้ไฟฟ้า (ยกเว้นเครื่องส่งขนาดเล็ก) 2.2 ชนิดที่มีการเคลื่อนไหว (Moving Picture) 2.2.1 ฟิล์ม / ภาพยนตร์ (ทั้ง 16 มม. และ 8 มม.) ข้อดี 1. ให้ภาพที่มีการเคลื่อนไหวและให้เสียงประกอบ ซึ่งทั้งสองอย่างมีลักษณะใกล้ความจริงมากที่สุด 2. เหมาะสำหรับกลุ่มทุกขนาด คือ สามารถใช้ได้ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ 3. ใช้เนื้อที่และเวลาน้อยในการเสนอ 4. เหมาะสำหรับใช้จูงใจสร้างทัศนคติและแนะปัญหาหรือแสดงทักษะ 5. ฟิล์ม 8 มม. เหมาะสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง 6. เหมาะสำหรับให้ความรู้ แต่ผู้ใช้จะต้องอธิบายข้อความบางอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์โดยละเอียด ก่อนทำการฉายหรือเมื่อฉายจบแล้วควรจะให้มีการซักถามปัญหา หรืออภิปรายกลุ่มสรุปเรื่องราวอีกด้วย ข้อจำกัด 1. ไม่สามารถหยุดภาพยนตร์เมื่อมีใครมีข้อสงสัย 2. ต้นทุนในการผลิตสูงมากและกรรมวิธีการผลิตยุ่งยาก 3. การผลิตฟิล์มจำนวนน้อย ๆ (ก๊อปปี้) ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิมมาก 4. ต้องใช้ไฟฟ้าในการฉาย 5. ลำบากต่อการโยกย้ายอุปกรณ์สำหรับฉาย 6. จำเป็นต้องฉายที่มืดจึงจะมองเห็น (นอกจากจะใช้จอฉายกลางวัน) 7. บางครั้งถ้าใช้ภาพยนตร์ต่างประเทศอาจจะไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้จริง ๆ 2.2.2 โทรทัศน์วงจรเปิด (Open Circuit Television) ข้อดี 1. สามารถใช้กับทั้งกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และถ่ายทอดได้ในระยะไกล ๆ 2. ช่วยในการดึงดูดความสนใจ 3. เหมาะสำหรับใช้ในการจูงใจ สร้างทัศนคติและเสนอปัญหา (ให้ผู้ชมคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วม) 4. ช่วยลดภาวะของผู้ใช้ คือ แทนที่จะบรรยายหลายแห่งต่อคน ที่ต่าง ๆ เห็นได้ในเวลาเดียวกัน ข้อจำกัด 1. ต้นทุนการจัดรายการสูงและต้องใช้ช่างผู้ชำนาญในการทำรายการ 2. เครื่องรับโทรทัศน์มีราคาสูงและบำรุงรักษายาก 3. ต้องใช้ไฟฟ้า 4. ผู้ชมต้องปรับตัวเข้ารายการผู้ใช้หรือผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ชมได้ 2.2.3 โทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) ข้อดี 1. สามารถใช้ได้ในกลุ่มย่อยและกลุ่มคนที่มีไม่มากจนเกินไป 2. สามารถฉายซ้ำเมื่อผู้ชมเกิดความไม่เข้าใจ 3. แสดงการเคลื่อนไหว 4. สามารถใช้ได้ในกรณีที่มีบริเวณหรือเวลาจำกัด 5. เหมาะสำหรับใช้ในการจูงใจสร้างทัศนคติและเสนอปัญหา 6. เหมาะสำหรับใช้ในการขยายภาพ / บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นขั้นตอนแต่ใช้เวลามากในการพัฒนา ข้อจำกัด 1. ต้นทุน อุปกรณ์และการผลิตสูงและต้องใช้ผู้ชำนาญในการผลิต / จัดรายการ 2. ต้องใช้ไฟฟ้า (แม้ว่าจะสามารถใช้แบตเตอรี่ได้ ก็อาจจะต้องชาร์ตไฟ) 3. เครื่องรับมีราคาสูง และยากแก่การบำรุงรักษา ตอบ รูปภาพของพัชรีพร สุดยอดสุข(สื่อ1/56) 54191860229 Re: สื่อการสอนคืออะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น